ตัวใหญ่เกินไปไหม นึกว่าลูกฉลาม!! เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ทางเพจคนใต้.คอม ได้โพสต์ได้รูปภาพของชาวบ้านอ.ชะอวด ที่ลงไปจับตามแม่น้ำทุกๆวัน แต่วันนี้แปลกก็คือได้จับปลาบึกยักษ์ได้ ขนาดตัวเกือบเท่ากับลูกฉลาม ชาวบ้านที่จับปลาบึกนี้ได้ถึงกับตกใจว่ามันมาจากไหน ทำไมมันถึงตัวใหญ่ขนาดนี้
ปลาบึก ( Pangasianodon gigas) เป็นปลาน้ำจือขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ไม่มีเกล็ด อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงตั้งแต่ประเทศจีน, ลาว, พม่า, ไทย เรื่อยมาตลอดความยาวของแม่น้ำรวมไปถึงแควสาขาต่าง ๆ เช่น แม่น้ำงึม, แม่น้ำมูล, แม่น้ำสงคราม แต่ไม่พบในตอนปลายของแม่น้ำโขงที่เป็นน้ำกร่อย ซึ่งเป็นจุดที่ไหลออกทะเลจีนใต้ เป็นปลาที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์เนื่องจากการจับปลามากเกินไป คุณภาพน้ำที่แย่ลงจากการพัฒนาและการสร้างเขื่อนบริเวณต้นน้ำ ปัจจุบัน IUCN จัดปลาบึกอยู่ในกลุ่ม Critically Endangered ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มาก และติดอยู่ในบัญชี ไซเตส กลุ่ม 1 ชนิดสัตว์ป่าและซากของสัตว์ป่าท้ายบัญชีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่า และพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES)
อาหารของปลาบึกในธรรมชาติคือพืชชนิดต่าง ๆ เช่น ตะไคร่น้ำ แต่เมื่อนำมาเลี้ยงก็สามารถรับอาหารชนิดอื่นได้ สามารถโตได้ถึง 3 เมตรและหนัก 150-200 กิโลกรัม ใน 5 ปี ปลาที่หนักที่สุดเท่าที่เคยจับได้เป็นตัวเมีย (บางรายงานระบุผิดว่าเป็นตัวผู้) ยาว 2.7 เมตร และหนัก 293 กิโลกรัม (646 ปอนด์) เจ้าหน้าที่กรมประมงสามารถรีดไข่ได้สำเร็จแต่ปลาตัวนี้ก็ตายก่อนที่จะปล่อยกลับธรรมชาติ
ปลาบึกได้รับฉายาว่า “ราชินีแห่งแม่น้ำโขง” และมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า “ไตรราช” ขณะที่ชาวจีนจะเรียกว่า “ปลาขงเบ้ง” เนื่องจากมีปรัมปราเล่าว่า ขงเบ้งเมื่อครั้งยกทัพมาทำศึกในภาคใต้ของจีนนั้นได้เกิดเสบียงอาหารขาดแคลน จึงอธิษฐานแล้วโยนกุนเชียงลงในน้ำกลายเป็นปลาขนาดใหญ่เพื่อเป็นเสบียงของกองทัพ คือ ปลาบึก
ปลาบึกที่มีขายในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการผสมเทียม โดยกรมประมงสามารถผสมเทียมได้ทั้งในบ่อดินและปัจจุบันสามารถเพาะได้ในบ่อปูนซีเมนต์ได้ด้วย โดยได้ลูกปลาออกมานำไปปล่อยไปในแหล่งน้ำหลายแห่งในประเทศ อาทิ เขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา, เขื่อนแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี, บ่อน้ำภายในมหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม เป็นต้น โดยมีการกำหนดให้จับได้เป็นช่วงระยะเวลาและปริมาณที่ชัดเจน เช่น ที่เขื่อนแก่งกระจานมีการปล่อยปลาบึกลงไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 มีกำหนดในช่วงปลายปีถึงต้นปี เนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาว ที่น้ำจะมีอุณหภูมิเย็น ปลาบึกจะลอยตัวขึ้นมาบริเวณผิวน้ำเพื่อเล่นน้ำ ทำให้จับได้ง่าย
ที่มาจาก: http://www.siamdrama.com/view-5804.html